‘กัญชา’ สายพันธุ์ไทยดีจริงหรือ ?

เคยมีคำถามว่า “กัญชาสายพันธุ์ไทย ที่ว่าดี ยังคงดีที่สุดหรือเปล่า” ถ้ายังจำได้ในทริปอเมริกาที่เพิ่งกลับมาครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งในเขตปลูกกัญชา ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ถึงกับเอ่ยปากว่า อากาศในประเทศไทยบ้านเรา เหมาะมากในการปลูกกัญชา และแน่นอนเขตพื้นที่ในจังหวัด สกลนคร ถือว่ามีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกว่าที่อื่น

ในเมื่อประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะที่สุดแล้ว และสายพันธุ์หล่ะ ยังดีที่สุดหรือไม่ กัญชาสายพันธุ์ไทยเรา เคยจัดว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด แต่ในปัจจุบันมีหลายประเทศ ได้นำสายพันธุ์จากไทย ไปพัฒนาจนกระทั่งดีกว่าสายพันธุ์เดิมของไทยไปเสียแล้ว  และด้วยกัญชาจัดว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์สูง  จึงค่อนข้างมั่นใจว่า ประเทศไทยเรา พร้อมในเรื่องนักวิชาการทางการเกษตรที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาสายพันธุ์พืชมากมาย ที่สามารถพัฒนาพืชเมืองหนาว และได้ผลดีมากๆ ดังนั้น การพัฒนาสายพันธุ์กัญชา เพื่อให้ดีกว่าเดิม และที่สำคัญต้องมีสาระสำคัญในปริมาณที่สูงเพื่อใช้ในการแพทย์นั้นทำได้แน่นอน  เพราะด้วยบุคคลกรที่เชี่ยวชาญในไทยเรามีเยอะ และมีองค์ความรู้ในการสกัดสาระสำคัญจากกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างเต็มที่

เรื่องที่น่ายินดีก็คือ ทางกรมการแพทย์แผนไทย จับมือกับมหาวิทยาลัยเกษตร ปลูกกัญชาในพื้นที่จังหวัดสกลนคร คาดจะเริ่มปลูกได้ในเดือนเมษายน เพื่อให้ทันป้อนให้กับหมอ แพทย์แผนไทย นำไปใช้ในตำรับยา 16 ตำรับ ที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ

แล้ว “ต้นกัญชา” มีกี่ชนิด ปลูกยากไหมเรามาทำความรู้จักกัน

กัญชา มีกี่ชนิด

เราสามารถจำแนกความแตกต่างกัญชาออกมาหลัก ๆ ได้ 2 ชนิด โดยการแยกตามสายพันธุ์ Strains ของตัวมันเอง

  • Cannabis Sativa

ตัวลำต้นจะสูง ใหญ่ ใบมีลักษณะเรียว ยาว สีเขียว ถือเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกได้ดีในประเทศแถบอเมริกา เช่น โคลัมโบ แมกซิโก ประเทศไทย และในทวีปที่มีอุณหภูมิร้อนชื้น  นิยมนำมาปลูกเพื่อเอาเมล็ดมาสกัดเป็นน้ำมัน

  • Canabis Indica

ตัวลำต้นจะเตี้ย ไม่สูง ใบสีเขียวเข้ม กว้าง ไม่เรียวเหมือน Sativa ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น นิยมปลูกเพื่อนำดอกมาใช้สกัด เป็นน้ำมันทางด้านการแพทย์ และนำมาเพื่อการผ่อนคลาย

ว่ากันว่า “กัญชา” สายพันธ์ “หางกระรอก”ดีที่สุด ?

กัญชาไทย สายพันธุ์ “หางกระรอก” หรือที่ชาวต่างประเทศรู้จักกันดี ในนาม “Thai Stick” ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ถูกยกย่องว่าเป็นสายพันธุ์ที่ติดอันดับ หนึ่ง ใน ห้า ของสายพันธุ์ที่ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในโลกใบนี้  เพราะด้วยอุณหภูมิ ภูมิอากาศ ความชื้นสัมพันธ์  ความอิ่มของแสงแดดในบ้านเรา  ทุกองค์ประกอบแทบจะเหมาะสมทั้งสิ้น  จึงทำให้สายพันธุ์  “หางกระรอก” ถูกจัดเป็นสายพันธุ์ที่มีค่า Tetrahydrocannabinol – THC) สูงที่สุดกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และเมื่อมีค่า THC สูง นั่นหมายถึง มีคุณสมบัติและประโยชน์ในการรักษาสูงด้วยเช่นกัน

กัญชา “สายพันธุ์หางกระรอก” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีมาแต่โบราณกาลช้านาน  พบได้ตามแนวเทือกเขา ภูพาน จังหวัดสกลนคร  ถือเป็นพืชสมุนไพรที่ทรงคุณค่า และอย่างที่เรียนให้ทราบช่วงต้นว่า  ถ้าได้รับพัฒนาสายพันธุ์น่าจะอิ่มคุณสมบัติมากขึ้นไปอีก

แล้ว “กัญชา” มีสรรพคุณทางยาอย่างไรบ้าง

จากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่าในกัญชามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด  อันได้แก่

  • สาร CBD (Cannabidiol)

ช่วยลดการอักเสบของแผล ลดอาการเจ็บปวด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดอาการชักเกร็ง

  • สาร THC (Tetrahydrocannabinol)

ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย และมีผลต่อจิตประสาท หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม จะลดความเครียดได้

อ้างอิง : 

(http://medicaljane.com/2013/06/28/cannabis-indica-vs-cannabis-sativa-differences), date 29 June 2013

  • เพจกัญชารักษาโรค CBD THC

เพิ่มผลผลิตง่ายๆ ด้วยการ Topping หรือ FIMing

Topping หรือ FIMing เป็นสองเทคนิคง่ายๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับกัญชา โดยจะเป็นการตัดบางส่วนของการเจริญเติบโตด้านบนออก เทคนิคเหล่านี้ได้ช่วยให้เรามีอิสระในออกแบบรูปร่างของกัญชาที่ดีขึ้น เพื่อส่วนต่างๆ ของกัญชาสามารถรับแสงได้เพิ่ม และสร้าง Colas มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เราได้รับผลผลิตมากขึ้นเช่นกัน

รูปภาพจาก: https://www.growweedeasy.com/

จากรูปด้านบนกัญชาด้านซ้ายได้ปลูกให้เติบโตตามธรรมชาติซึ่งส่งผลให้รูปร่างคล้าย “ต้นคริสต์มาส” แบบปกติที่ไม่มีประสิทธิภาพมากภายใต้แสงไฟในร่มก็จะมีแค่ 1-2 Colas เท่านั้น แต่กัญชาทางด้านขวาได้ทำการ Topping หรือ FIMing มาทำให้ได้ผลผลิต Colas ที่เยอะขึ้นตามที่เราต้องการได้

โดยเทคนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นถือว่าเป็นการช่วยให้เกิดการแตกยอด และแบ่งสารอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้มากขึ้นแทนการที่จะปล่อยให้ลำต้นโตขึ้นโดยมีการเจริญเติบโตอยู่ที่ยอดเดียว เป็นการช่วยสร้างผลผลิตให้เพิ่มขึ้นด้วย

Topping

  • ตัดส่วนบนของกัญชาที่ลำต้นระหว่างโหนด
  • สร้าง 2 Colas หลักที่ด้านบนสุดของกัญชา และสามารถใช้ LST เพื่อสร้างเพิ่มเติมได้
  • Colas ใหม่เว้นระยะเท่ากัน (ติดกับก้านในที่เดียวกัน)
  • สามารถนำมาใช้เพื่อลดความสูงของกัญชาได้
  • ต้นจะเครียดกว่า FIMing ทำให้ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า
ตัวอย่างการ Topping ต้นกัญชา
เป็นวิดีโอที่แสดงให้เห็นการเจริญเติบโตของกัญชาที่โดน Topping เป็นยังไง (ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์)

FIMing

  • ตัดตรงปลายยอดประมาณ 70% ของยอด
  • สร้าง 2-4 Colas สามารถใช้ LST เพื่อสร้างเพิ่มเติมได้
  • Colas ใหม่ที่สร้างขึ้นจะไม่เว้นระยะเท่ากัน
  • ไม่ลดความสูงของต้น
  • ต้นจะไม่เครียด กัญชาจะฟื้นตัวได้เร็ว
ความแตกต่างระหว่าง FIMing และ Topping รูปภาพจาก: growweedeasy.com
ภาพหลัง FIMing

รู้หรือไม่? FIM ย่อมาจาก “Fuck I Missed” เนื่องด้วยนักปลูกคนหนึ่งพยายามจะทำ Top แต่ดันตัดพลาดแล้วเหลือทิ้งไว้ 20% โดยบังเอิญ

เทคนิดสำหรับการ Topping หรือ FIMing

ต่อไปนี้จะเป็นเคล็ดลับพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าการ Topping หรือ FIMing ในกัญชาของเราป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบทุกครั้ง!

ห้าม Top หรือ FIM ในต้นกัญชาที่ยังเล็ก

การที่เราทำการ Topping หรือ FIMing ในต้นที่ยังเล็ก หรือเร็วเกินไปนั้นจะทำให้ต้นกัญชานั้นเครียด และการเจริญเติบโตช้าลงอย่างมาก ทางที่ดีคือ

รอจนกว่ากัญชาจะมีอย่างน้อย 3-5 Node สำหรับการทำ FIMing หรือ 4-6 Nodes สำหรับการทำ Topping

เราสามารถทำ Topping หรือ FIMing ได้ในช่วงทำใบ (Vegetative stage) หลังจากนั้นต้องให้เวลากัญชาของเราฟื้นตัวสักระยะก่อนประมาณ 5-7 วัน และอย่าทำการ Topping หรือ FIMing ในช่วงทำดอก (Flowering stage) เพราะมันสายเกินไปแล้ว!!!

ในระยะออกดอกควรใช้เทคนิคการฝึกอย่างอ่อนโยนเช่น LST หรือการดัดประเภทอื่น ๆ เพื่อเปลี่ยนรูปร่างของพืชแทน

Thanks: https://www.growweedeasy.com/topping-fiming

Super soil สูตรดินปลูกกัญชาแบบธรรมชาติ

ดิน Super soil จะประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ คือ ส่วนประกอบดินพื้นฐาน (Base mix), ส่วนเชื้อราและสารอาหาร (Fungal), ส่วนแบคทีเรีย (Bacterial) และธาตุอาหารต่างๆ (Macronutrients)

ส่วนประกอบดินพื้นฐาน (Base mix)

เริ่มต้นด้วยส่วนผสมพื้นฐานก่อนที่จะประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ และส่วนที่ทำให้ดินร่วนซุยทำให้รากของกัญชาเจริญเติบโตได้ดี และน้ำสามารถไหลผ่านได้สะดวกไม่ทำให้ท่วมขัง

  • ขุยมะพร้าวหมัก (Coco peat) – 2 ส่วน
    ขุยมะพร้าวหมัก หรือ Coco peat เป็นขุยมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วด้วยการร่อนเอาขุยฝุ่นที่เล็กว่า 0.5 mm ออก และล้างด้วยน้ำสะอาด และผ่านการอบด้วยความร้อนสูง เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง พร้อมทั้งหมักเพื่อลดค่าความเค็มแล้ว ทำให้ขุยมะพร้าวหมักนี้จะไม่มีสารแทนนินที่เป็นพิษต่อพืช คุณสมบัติของขุยมะพร้าวก็คือการอุ้มน้ำที่ดี
  • ปุ๋ยหมัก (Compost) – 1 ส่วน
    ขี้วัว หรือขี้ควายที่ผ่านกระบวนการหมักแล้วด้วยวิธีการต่างๆ แต่เราแนะนำให้ลองหา หรือทำเองโดยวิธีการ “ปุ๋ยหมักโดยไม่ต้องกลับกองวิศวกรรมแม่โจ้” มาใช้งานจะมีธาตุอาหารครบถ้วน
  • เพอร์ไลท์ (Perlite) – 1/2 ส่วน
    ช่วยเพิ่มอากาศในดินทำให้ดินร่วนซุยมากขึ้น
  • เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) – 1/6 ส่วนของเพอร์ไลท์
    ช่วยดูดซับธาตุอาหารแล้วค่อยๆ ปลดปล่อยให้ในภายหลัง

ส่วนเชื้อราและสารอาหาร (Fungal)

เชื้อราในพืชมีทั้งดี และไม่ดี เชื้อราที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อกัญชาที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของราก และทำให้กัญชาเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

  • สาหร่ายทะเลผง (Kelp meal) – 4 ช้อนโต๊ะต่อดิน 5 Gallons
    สาหร่ายทะเลเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ทำจากสาหร่ายทะเลแห้ง มันมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก
  • ฮิวมิคแอซิค (Humic acid) – 4 ช้อนโต๊ะต่อดิน 5 Gallons
    ฮิวมิคเกิดขึ้นโดยกระบวนการย่อยสลายในทางชีวภาพของสารอินทรีย์ที่ตายลงช่วยบำรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินดีขึ้น
  • ไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal) – 1/4 ช้อนชาต่อดิน 1 Gallon
    ช่วยให้รากพืชแตกแขนงมากขึ้น รวมทั้งเส้นใยของราที่เจริญห่อหุ้มรอบรากถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดน้ำ และธาตุอาหาร
  • ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) – ผสมสัดส่วนตามฉลาก
    ช่วยป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และกำจัดเชื้อราชนิดที่ไม่ดีในดิน

แบคทีเรีย (Bacterial)

แบคทีเรียหลายชนิดในดินช่วยในการละลายของธาตุอาหารในดินที่มีความจำเป็นต่อกัญชา ทำให้กัญชาได้รับสารอาหารมากยิ่งขึ้น และบางตัวยังช่วยในการสร้างและรักษาระบบภูมิคุ้มกันของกัญชา ทำให้กัญชาของเรามีทักษะมากขึ้นในการต่อสู้กับศัตรูพืช, เชื้อโรค และสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่างๆ

  • ปุ๋ยมูลไส้เดือน (Vermicompost) – 20% ของดิน
    มูลไส้เดือนจะมีความสมบูรณ์ที่ลงตัวระหว่างสารชีวภาพ, แบคทีเรีย และช่องว่างอากาศ ซึ่งเป็นความสมดุลที่เหมาะที่จะให้รากกัญชาชอนไชลงไปได้อย่างง่ายดายเพื่อหาสารอาหาร และน้ำ แถมยังมีธาตุอาหาร NPK ครบและหลากหลาย
  • ปุ๋ยมูลค้างคาว (Bat Guano) – 5% ของดิน
    มูลค้างคาวมีธาตุอาหารครบทั้ง 13 ชนิด ที่กัญชาต้องการจากทางดินโดยจะมีธาตุฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงมีบทบาทในการเร่งให้กัญชาติดดอกได้ดีขึ้น เหมาะเป็นพิเศษสำหรับกัญชาในช่วงทำดอก (Flowering Stage)

ธาตุอาหารต่างๆ (Micro & Macronutrients)

กัญชาเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นต้องใช้ธาตุอาหารเสริม และธาตุอาหารหลักในการเจริญเติบโต ในหลายกรณีสารอาหารเหล่านี้มักจะได้มาจากปุ๋ยที่ให้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามด้วยดินอินทรียวัตถุที่เป็นอินทรีย์ธาตุ พวกมันจะถูกดัดแปลงเป็นส่วนผสมพื้นฐานเพื่อปล่อยและย่อยสลายเป็นอาหารสำหรับกัญชาของเราอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไป

  • ผงเลือดป่น (Blood meal) – 1/9 ส่วน
    ธาตุที่ได้ Nitrogen ถ้าหาไม่ได้สามารถใช้ปุ๋ยอัลฟัลฟ่า (Alfalfa meal) แทน
  • กระดูกป่น (Bone meal or Rebone) – 1/9 ส่วน
    ธาตุที่ได้ Phospherus และ Calcium
  • แมกนีเซียมซัลเฟต หรือดีเกลือ (Magnesium Sulfate) – 1 ช้อนโต๊ะต่อดิน 1 Gallon
    ธาตุที่ได้ Magnesium
  • กุ้ง หรือปูป่น (Crab/Shrimp/Crustacean meal) – 1 ช้อนโต๊ะต่อดิน 1 Gallon
    ธาตุที่ได้ Nitrogen, Phosphorous, Calcium, Magnesium
  • อะโซไมค์ (Azomite) – 1 ช้อนโต๊ะต่อดิน 1 Gallon
    ให้สารอาหารมากกว่า 70 ชนิด
  • ถ่านชีวภาพ (Bio char) – 5% ของดิน
    ธาตุที่ได้ Potassium

ขั้นตอนการผสมดิน Super soil

นำส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดมาผสมคลุกให้เข้ากันจากนั้นลองวัด PH ในดินจะอยู่ที่ประมาณ 6.5 ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่โอเคสำหรับการปลูกกัญชา ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปลูกได้ทันที แต่หากใครต้องการต้องการหมักดินเพิ่มเติมก็สามารถทำได้เช่นกัน

โดยวิธีการหมักดิน Super soil

ส่วนผสมเตรียมน้ำหมัก

  • น้ำ EM 2 ช้อนโต๊ะ
  • กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 1 กระบวยรดน้ำ (4 ลิตร)

นำน้ำ EM และกากน้ำตาลใส่ลงในกระบวยรดน้ำ ผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำไปรดในดิน Super soil ที่ผสมเสร็จแล้วให้ทั่วๆ โดยรดให้ได้ความชื่นประมาณ 40% โดยเราสามารถวัดได้จากการเอามือเรากำดินขึ้นมาแล้วบีบดิน ถ้าเนื้อดินจับเป็นก้อนพอชุ้มชื่น ก็เป็นอันใช้ได้

จากนั้นนำไปตากไว้ในที่ร่ม หรือใส่ถุงปุ๋ยแล้วมัดปากถุงเก็บไว้ในที่ร่ม ทำการหมักดินประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วนำมาวัดค่า PH อีกครั้งควรจะได้ PH 6-7 แล้วค่อยนำมาใช้ปลูกกัญชาได้เลย

สูตรดินปลูกกัญชา Super soil ที่ทางเรานำมาเสนอนี้เป็นเพียงสูตรหนึ่งที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ได้นำมาแชร์กันเพื่อให้ทุกคนสามารถปรุงดินขึ้นมาเองได้ และอย่ากลัวที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในการผสมดิน เพราะสูตรดินแต่ละแบบมีธาตุอาหารไม่เหมือนกัน ลองผสมดินในสูตรตัวเองดู แล้วทดลองปลูก อาจจะได้ผลลัพธ์ดีกว่าก็เป็นได้

Cr.highgan

สายพันธุ์กัญชามีกี่แบบ

ในพืชตระกูลแคนนาบิส (Cannabis) แบ่งสายพันธุ์ได้เป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ซาติว่า (Sativa), อินดีก้า (Indica) และรูเดอราริส (Ruderalis) เรามารู้จักความแตกต่างของสายพันธุ์ของกัญชากัน

Sativa (ซาติว่า)

Sativa มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศเขตร้อนซึ่งมีลักษณะอบอุ่น และชื้น

Sativa: การเจริญเติบโตและรูปร่าง

Sativa: การออกฤทธิ์

ต้นมีลักษณะสูงโปร่ง และดอกมีการเว้นระยะห่างกันพอสมควร เนื่องจากมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเจริญเติบโตของเชื้อรา ใบจะมีลักษณะเรียวและยาว โดยความสูงของมันจะอยู่ที่ระดับ 3-4 เมตรไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับ Sativa ส่วนรากสามารถลึกสูงสุดถึงสองเมตรในสภาพดินที่โปร่งสบาย และมีรัศมีไม่เกินหนึ่งเมตร

ค่า THC สูง และค่า CBD ต่ำ

  • กระตุ้นการทำงานของสมอง
  • เพิ่มพลังด้านการทำงานที่ใช้ความคิด
  • เพิ่มสมาธิ และความคิดสร้างสรรค์
  • ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • เหมาะกับการใช้ช่วงกลางวัน

Sativa: ประโยชน์

  • ลดอาการคลื่นไส้
  • กระตุ้นความอยากอาหาร
  • ช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้า
  • กระตุ้นการทำงานของสมอง
  • กระตุ้นความสร้างสรรค์
  • ลดอาการปวดหัวและไมเกรน
  • ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวด
  • ออกฤทธิ์เป็นยาขับเสมหะ

Indica (อินดีก้า)

มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศแห้งแล้ง มีฝนตกเล็กน้อย และหนาวเย็น

Indica: การเจริญเติบโตและรูปร่าง

มีลำต้นที่ป้อมเตี้ย รูปร่างที่ค่อนข้างแข็งแรงทำให้มีเสถียรภาพปกป้องลมได้ดี มีความสูงไม่เกินสองเมตร ใบมีขนาดกว้าง และมีจำนวนแฉกน้อยกว่า Sativa สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้เกิดร่มเงาที่ดี แต่ยังช่วยให้สามารถดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากในเวลาเดียวกัน เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงเวลาที่แห้งแล้ง ระยะดอกมีความหนาแน่น ถ้าความชื้นที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย เวลาเก็บเกี่ยวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม

Indica: การออกฤทธิ์

ค่า THC ต่ำ และค่า CBD สูง

  • ความผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • บรรเทาอาการปวด
  • ช่วยระงับประสาท
  • เหมาะกับบรรเทาอาการวิตกกังวล
  • เหมาะกับช่วงหลังเลิกงานหรือเวลานอนพักผ่อน

Indica: ประโยชน์

  • ลดอาการปวด
  • ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • บรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการชัก
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยกับโรคนอนไม่หลับ
  • ลดอาการวิตกกังวัลและความเครียด
  • ลดอาการคลื่นไส้
  • กระตุ้นความอยากอาหาร
  • ลดอาการปวดหัวและไมเกรน
  • ลดความดันลูกตา (ที่ก่อให้เกิดโรคต้อหิน)
  • ทำหน้าที่ขยายหลอดลมและช่วยขับเสมหะ

Ruderalis (รูเดอราริส)

Ruderalis มีถิ่นกำเนิดในยุโรปกลาง, ตะวันออก และรัสเซีย ขนาดของลำต้นจะมีขนาดเล็กมากมีระยะเวลาออกดอกที่สั้น โดยการออกดอกจะเป็นแบบอัตโนมัติ (Auto flowering) ซึ่งมันจะไม่สนฤดูกาลนั้นหมายความว่าแค่ปลูกตามระะยะเวลาของมันก็สามารถออกดอกได้เลย ในส่วนของ THC จะมีปริมาณที่ต่ำมาก

แต่ในปัจจุบันด้วยข้อดีที่มันมีระยะเวลาออกดอกที่สั้น ทำให้นักผสมพันธุ์กัญชา (Breeders) ได้มาผสมพันธุ์กับพวก Indica และ Sativa ทำให้ได้พันธุ์กัญชาที่มี CBD และ THC สูง แต่สามารถออกดอกได้ไว และไม่สนฤดูกาลออกดอก เขาเลยตั้งชื่อ เรียกใหม่ว่าสายพันธุ์ “Auto Flowering” ในปัจจุบันสายพันธุ์ Ruderalis แทบจะหาไม่ได้แล้วเพราะถูกนำไปผสมกับ Indica และ Sativa จนหมด

Ruderalis: การเจริญเติบโตและรูปร่าง

หลังจากการเติบโตเพียงสองถึงสามสัปดาห์ Ruderralis จะออกดอกโดยอัตโนมัติโดยไม่คำนึงถึงฤดูกาล และสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายในสองเดือนครึ่งเท่านั้น เอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันอีกอย่างก็คือ มีใบแค่ 3 – 5 แฉก ไม่มีมากกว่านี้แล้ว แต่แฉกคู่ติดก้านใบจะเล็กมาก และลำต้นมีความสูงที่ค่อยไม่เกิน 1 เมตร

Ruderalis: การออกฤทธิ์

เนื่องจากด้วยพันธุ์ของมันเองมี THC ที่ต่ำมากๆ ถ้าสูบมากในระดับนึงจะรู้สึกมึนหัว หรือ ง่วงนอนเล็กน้อย ส่วนกลิ่น และรสชาติแทบไม่มี

Thanks:
https://en.wikipedia.org/wiki/Cannabis_strains
https://en.wikipedia.org/wiki/Cannabis_ruderalis
https://www.mallorca-seeds.com/difference-sativa-indica-ruderalis/

Cr.highgan

CBD และ THC ในพืชกัญชา คือ?

ในกัญชานั้นมีสารทั้ง 2 ชนิดอยู่ ซึ่งตอนแรกค้นพบ THC ก่อน และภายหลังจึงรู้จัก CBD คือทั้งสองชนิดนี้คล้ายคลึงกันมากๆ (แต่มันให้ผลลัพธ์ต่างกัน) อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ก็คือ ทั้งสองประกอบด้วย คาร์บอน 21 อะตอม ไฮโดรเจน 30 อะตอม และอ็อกซิเจน 2 อะตอม แต่ที่มันต่างกันก็เพราะ “การเรียงตัวของอะตอม” ไม่เหมือนกัน

ความแตกต่างระหว่าง THC และ CBD

คิดภาพง่ายๆ เหมือนกับเราต่อเลโก้สร้างบ้านของเล่น 2 หลัง ใช้ตัวต่อแบบเดียวกัน แถมมีจำนวนชิ้นตัวต่อเท่ากัน แต่ต่อคนละแบบ มันก็เลยออกมาไม่เหมือนกันนั่นเอง

ในอดีต เมื่อมนุษย์รู้จักการสูบกัญชา พวกเขาก็เข้าใจว่ากัญชาทำให้ผ่อนคลาย และ “เก็ทไฮ” ได้ตั้งแต่ยังไม่รู้จักสารของมัน พอภายหลังรู้ว่ามีส่วนประกอบของ THC ก็เริ่มเข้าใจว่าสารนี้แหละทำให้ผ่อนคลาย และยังมีผลต่อระบบประสาท แต่พอศึกษาไปอีก ก็พบว่ามีสาร CBD อีกตัว ที่ช่วยให้ผ่อนคลายเหมือนกัน แต่สารนี้ไม่ส่งผลให้ “เก็ทไฮ” แต่อย่างใด ซึ่งพอยิ่งศึกษาต่อไปเรื่อยๆ ทั้งการเพิ่มปริมาณ (Dose) ของ CBD ให้มากขึ้นไปอีก ก็พบว่าเจ้าสารตัวนี้มันแทบไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายของมนุษย์ แต่ที่มีผลข้างเคียงของ THC อย่างชัดเจนแทน โดยอาการที่สามารถพบได้ มีตั้งแต่ อาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตอบสนองช้า ตาแดง หรือความทรงจำลดลง เหล่านี้ล้วนเป็นผลของการได้รับ THC ที่มากเกินไปแทบทั้งสิ้น

ลับเข้ามาที่ความเหมือนกันของ THC และ CBD

ทั้ง 2 สารนี้อยู่ในกลุ่ม “แคนนาบินอยด์” ซึ่งมันไม่ได้มีแต่เฉพาะในกัญชาเท่านั้น แต่มันมีอยู่ในร่างกายของมนุษย์อยู่แล้วด้วย งงไหม??

แต่เจ้า “แคนนาบินอยด์” (Cannabinoid; CB) ในร่างกายของเรานั้น มันจะทำงานก็ต่อเมื่อผสานเข้ากับ “ตัวรับแคนนาบินอยด์” หรือ Cannabinoid rece[tor type 2 (CB2R) ในร่างกายเรา เช่น แคนนาบินอยด์ในสมอง ถ้าร่างกายผลิตมันได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้คลายความกังวล ลดความเศร้า ทีนี้น่าจะพอเข้าใจกันแล้วว่าทำไมมนุษย์สูบกัญชาแล้วจึงได้รับผลของแคนนาบินอยด์ เพราะมนุษย์เราก็ผลิตได้บางส่วน และมีตัวรับอยู่ในร่างกายของทุกๆ คนนั่นเอง

พัฒนาการศึกษาวิจัยที่ยืนยันผลของ CBD (Cannabidiol) ที่ออกฤทธิ์ในเชิงรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช

จากการศึกษา การวิจัยทางเภสัชวิทยา ที่เผยแพร่ในวารสาร Life Scince ปี 2019 นี้เอง จากฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ หรือ NIH ซึ่งเป็นการศึกษาสารสกัดที่ได้จากพืชกัญชา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอาหารและยา หรือ FDA สหรัฐ เมื่อเร็วนี้ๆ เพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่ตอบสนองต่อยากันชักโดยทั่วไป ผู้ป่วยออติสติก และผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทอื่นๆ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง ในสัตว์ทดลองที่มีความผิดปกติของความวิตกกังวล (Anxiety Disorder) ในระยะที่มีอาการความผิดปกติทางจิต พบว่า สารสกัด CBD ที่ได้จากพืชกัญชง กัญชา จัดเป็นกลุ่มสาร phytocannabinoids ซึ่งก็คือ สาร cannabidiol (CBD) ไม่ทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท ซึ่งผลการศึกษานี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ได้มีการศึกษาสาร CBD ในร่างกายมนุษย์ (ที่ไม่ใช่สารสกัดจากพืช) โดยจะมีตัวรับ cannabinoid ชนิดที่ 2 (CB2R) แต่ก็ไม่ได้แสดงฤทธิ์เป็น cannabinoidergic ที่ดี ต่างจากสารสกัดที่ได้จากพืชกัญชา นับเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในประเด็นสารสกัดจากพืชกัญชา ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ในการพัฒนาเพื่อหาแนวทางนำมาใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาทั่วไป นั่นเอง จึงถือเป็นข้อมูลความคืบหน้าที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ทำความรู้จัก CB1 CB2

ในปี ค.ศ. 1991 Miles Herkenham และทีมวิจัย ได้ค้น พบตัวรับสารสื่อประสาท (Receptor) ของ THC ในร่างกายมนุษย์ ชื่อว่า CB1 ทีมวิจัยได้พบต่อมรับสารสื่อประสาทนี้ในระบบสําคัญ สําหรับการทํางานของสมองและร่างกายคือ Hippocampus (ความจํา), Cerebral Cortex (การรับรู้), Cerebellum (การทํางานรวมกันของระบบประสาทเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย), Basal Ganglia (การเคลื่อนไหว), Hypothalamus (ความต้องการ พื้นฐานเช่น ความหิว, การสืบพันธุ์, และการผักผ่อน), Amygdala (อารมณ์) และที่อื่นๆ

ไม่นานหลังจากนั้นได้ค้นพบตัวรับสารสื่อประสาทตัวที่สอง ชื่อว่า cannabidiol 2 (CB2) ในระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทส่วนปลายและยังพบใน กระเพาะ ม้าม ตับ หัวใจ ไต กระดูก เส้นเลือด เซลล์น้ำเหลือง ต่อมไร้ท่อต่างๆ และอวัยวะสืบพันธุ์

การค้นพบตัวรับ CB1 และ CB2 ทําให้นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า ร่างกายมนุษย์เองก็น่าจะสามารถผลิตสารสื่อประสาทที่ทํางานกับตัวรับ CB1 และ CB2 แบบเดียวกับกัญชาได้ และ Raphael Machoulam บิดาแห่ง THC ก็ได้ค้นพบ Canabinoids ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาได้เอง ชื่อว่า Anandamide ในปี ค.ศ. 1992 และได้ค้นพบสารตัวที่สองชื่อว่า 2-AG (2-arachidonoylglycerol) ในปี ค.ศ. 1995 และเรียกระบบการทํางานของสาร Cannabinoids กับตัวรับสาร CB1 และ CB2 ที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายว่า “Endocannabinoid System”

การทํางานของ Endocannabinoild System (ECS) นั้นซับซ้อนและยุ่งเหยิงกว่าที่เราคิดไว้มาก แม้ปัจจุบันจะมีการค้นพบต่างๆมากมาย มีงานวิจัยออกมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงเข้าใจได้เพียงแค่การทํางานขั้นพื้นฐานของระบบนี้เท่านั้น โดยพื้นฐานแล้ว ECS คือระบบการทํางานของสาร Cannabinoids กับตัวรับสาร CB โดย Cannabinoids ทํางานเสมือนลูกกุญแจที่สามารถปลดล็อคตัวรับสาร CB1 และ CB2 เมื่อร่างกายหลั่งสาร Cannabinoids หรือได้รับจากกัญชาก็แล้วแต่ Cannabinoids เหล่านี้จะไปประกบเข้ากับตัวรับ CB1 หรือ CB2 และกระตุ้นให้เกิดการทํางานของตัวรับขึ้น ด้วยความที่ต่อมตัวรับสาร CB1 และ CB2 นั้นมีอยู่ในเกือบทุกระบบของร่างกาย จึงทําให้ ECS เป็นระบบสําคัญกับร่างกาย ซึ่งมีบทบาทต่อการการควบคุมและการปรับสมดุลให้กับระบบสําคัญต่างๆในร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิควบคุมความเจ็บปวด ควบคุมกระบวนการเผาผลาญไขมัน และกลูโคส รักษาสมดุลพลังงานของร่างกาย รักษาสมดุลของการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจ ระบบความดันเลือด ฯลฯ จึงไม่แปลกที่วงการแพทย์ในยุคปัจจุบันหันมาให้ความสนใจกัญชามากขึ้นเป็นอย่างมาก

อย่างที่ทราบกันว่าสาร Cannabinoids นั้นถูกค้นพบในพืชกัญชาเป็นอันดันแรก และจากนั้นก็มาค้นพบในร่างกายมนุษย์ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันจึงแบ่ง Cannabinoid ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่

1. Endogenous cannabinoids

หรือ Endocannabinoid คือ Cannabinoids ที่ ผลิตขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิต พบได้ทั้งในร่างกายมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิด ประกอบด้วยสารสําคัญ 2 ชนิด คือ Anandamine และ 2-AG (2-arachidonoylglycerol)

2. Exogenous Cannabinoid

คือ Cannabinoids จากภายนอกร่างกายที่ได้จากการผลิตขึ้นจากห้องแลบและ Cannabinoids ที่พบได้ในพืชกัญชา

Cannabinoids ทั้ง 2 กลุ่มมีกระบวนการทํางานที่เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ Cannabinoids ที่ผลิตในร่างกายจะถูกผลิตแบบเฉพาะกิจโดยมีหน้าที่ที่ชัดเจน และจะถูกย่อยสลายไปอย่างรวดเร็ว ต่างจาก Cannabinoids ที่ได้จากการสะกัดพืชกัญชา/กัญชา จะถูกย่อยสลายได้ช้า

สรุปประเด็น THC และ CBD

เนื่องจากในกัญชา จะมี THC ประกอบอยู่ถึง 12% และมี CBD เพียงไม่ถึง 0.30% เท่านั้น การสูบโดยตรงเพื่อรักษาโรคที่ CBD ทำได้นั้น ล้วนแต่ทำให้ร่างกายได้รับแต่ THC มากเกินไปเสียเปล่าๆ การจะใช้งาน CBD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการสกัดมันออกมา นั่นหมายถึงการนำกัญชาเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมแปรรูปเสียก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปนั้นแทบจะทำไม่ได้

ผลเสีย

1. (THC) อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการโรคจิตเภท โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยงเช่น ผู้ที่มีปัญหาโรคจิตในครอบครัว หรือพันธุกรรม ผู้ป่วยโณคจิตจากสารเสพติดและแอลกอฮอล์ เป็นต้น

2. (THC) หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะชลอการทํางานของสมองและทําให้สมองหยุดสร้างสารเคมีที่ทําให้รู้สึกดี และทําให้รู้สึกหงุดหงิดง่ายเวลาไม่ได้ใช้

3. (THC) มีผลต่อการพัฒนาในด้านลบของสมองที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กัญชาจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาสมองของเยาวชน

ผลทางการรักษาของ CBD

1. (CBD) ลดอาการทางจิตประสาทของ THC

2. (CBD) ป้องกันการสูญเสียของความจําระยะสั้นจาก THC

3. (CBD) ป้องกันอาการจิตเสื่อม โรคประสาท ลดความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรคทางจิตที่มาจากการใช้ THC,

4. (CBD) ลดอาการวิตกกังวล

5. (CBD) ลดอาการคลื่นใส้อาเจียน

6. (CBD) อาจช่วยรักษาโรคโรคจิตเภท (Schizophrenia)

7. (CBD) ป้องกันโรคนอนไม่หลับ (Anti-Insomnia)

8. (CBD) ลดอาการชักจากโรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis) และจากโรคลมชักต่างๆ (Epilepsy)

แหล่งข้อมูล

1. “The diverse CBD1 and CBD2 receptor pharmacology of three plant cannabinoids: delta9-tetrahydrocannabinol, cannabidiol and delta9-tetrahydrocannabivarin”. PMC 2219532

2. McPartland, M, Guy G. “The evolution of Cannabis and coevolution with the can- nabinoid receptor – a hypothesis,” in Guy, et al, eds., The Medicinal Uses of Cannabinoids; and McPartland JM et al. “Evolutionary origins of the endocannabinoid system,” Gene. 2006;370:64-74.

3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4987131/

4. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30910646

5. https://www.healthline.com/health/medical-marijuana/cannabis-for-sleeping

6. http://www.healthline.com/health/cbd-vs-thc

7. https://www.billionaireth.com/how-thc-cbd-difference/

Cr.dmh

How to ปลูกกัญชา

เว็บไซด์ unlockmen.com เผยแพร่ 6 ขั้นตอนการปลูกกัญชา พืชเศรษฐกิจที่ถูกพูดถึงอย่างมากในการเลือกตั้งที่ผ่านมา  โดยผู้เขียนระบุว่า ‘กัญชาเสรี ปลูกได้บ้านละ 6 ต้น’ ที่ทุกคนรอคอยก็ใกล้ความจริงเข้าไปอีกขั้นแล้ว

ทั้งนี้ เว็บไซด์ดังกล่าว ได้รวบรวม 6 ขั้นตอนการปลูกกัญชาไว้ ดังนี้

1.เลือกเมล็ดพันธุ์

สำหรับนักปลูกหน้าใหม่ชาวไทย การเลือกเมล็ดพันธุ์คือสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากสภาพอากาศบ้านเราแตกต่างจากประเทศฝั่งตะวันตกที่ปลูกกัญชากันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าเราเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เข้ากับสภาพอากาศมา ความพยายามในขั้นตอนต่อไปก็อาจจะสูญเปล่า

สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณาคือความเหมาะสมของเมล็ดพันธุ์กับสถานที่ปลูก เพราะบางสายพันธุ์เติบโตได้ดีในที่ปิด บางสายพันธุ์เติบโตได้ดีในที่โล่ง นอกจากนั้นก็แล้วแต่รสนิยมของคุณแล้วว่าชอบการออกฤทธิ์ของสายพันธุ์ไหนและสายพันธุ์ไหนเข้ากับคุณที่สุด

2.สภาพแวดล้อมพื้นฐาน

น้ำ: เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น กัญชาต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต ในกรณีที่ปลูกกลางแจ้ง ถ้าพื้นที่ที่คุณปลูกมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องน้ำ แต่ถ้าปลูกในปริมาณมาก คุณก็จำเป็นต้องหาน้ำจากแหล่งอื่นมาเสริม

น้ำคือสื่อที่นำพาสารอาหารล่อเลี้ยงต้นกัญชา นอกจากนั้นยังถูกใช้เพื่อล้างระบบไฮโดรโพนิก ค่า pH ของน้ำมีความสำคัญมาก เครื่องวัดค่า pH จึงเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ปลูกกัญชา

อุณหภูมิ: กัญชาเป็นพืชที่แข็งแรงมาก สามารถอยู่รอดได้ทั้งในสภาพอากาศเย็นและร้อน อย่างไรก็ตามกัญชาก็เหมือนมนุษย์ มีสภาวะเครียด เติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจถึงขั้นหยุดเติบโต ถ้าอยู่ในสภาพอากาศที่เย็นเกินไปหรือร้อนเกินไปโดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับปลูกกัญชาอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส ดังนั้นการปลูกกัญชาในที่ร่มจึงเป็นเรื่องง่ายกว่า เพราะคุณสามารถปรับอุณหภูมิและความชื้นได้ด้วยเครื่องปรับอากาศ

ตรงกันข้ามกับการปลูกการแจ้ง มันอาจจะใช้ต้นทุนน้อยกว่า แต่คุณต้องแบกรับความเสี่ยงที่มากกว่า คุณต้องเชี่ยวชาญมาก ๆ ในการคาดการณ์สภาพอากาศ ไม่เช่นนั้นกัญชาของคุณอาจผลิดอกออกผลไม่ได้ตามเป้า หรืออาจถึงขั้นตายได้เลย

โภชนาการ: กัญชาก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ต้องใช้สารอาหารในการเจริญเติบโต ส่วนผสมของดินที่ดี อุดมไปด้วยปุ๋ยหมัก วิตามิน และแร่ธาตุ จึงจำเป็นมาก ๆ กับการปลูกกัญชา

แนะนำให้รดน้ำด้วยชาหมักและส่วนผสมอินทรีย์อื่น ๆ เช่นกากน้ำตาล เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงคุณภาพดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกัญชา

ความชื้น: การปลูกกลางแจ้งคุณไม่สามารถควบคุมปัจจัยนี้ได้ ข้อเสียคือความแปรปรวนของความชื้นและฟังก์ชันทางชีวภาพที่จำเป็นต้องปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่ถ้าคุณทำสำเร็จ กัญชาของคุณก็จะมีคุณภาพดีเป็นพิเศษ

ส่วนการปลูกในร่ม การควบคุมความชื้นมีความสำคัญมากตั้งแต่ยังเป็นเมล็ดจนเติบโตเป็นต้น ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้สภาพแวดล้อมปลอดเชื้อรา และกัญชาจะเติบโตอย่างแข็งแรง

Marijuana buds ( cannabis), hemp plant. Washington State. Legal Medical marijuana law in US.

3.แสงไฟสำหรับการปลูกในร่ม

Growing Cupboards: คือหลอดไฟที่ใช้สำหรับการปลูกกัญชาโดยเฉพาะ ปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการของต้นกัญชา แต่ข้อเสียของมันคือราคาที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามถ้าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ นอกจาก Growing Cupboards แล้ว เราแนะนำให้คุณจัดแบบ Full Option เพิ่มพัดลม ตัวจับเวลาและตัวกรองคาร์บอน เข้าไปด้วย การันตีได้เลยว่ากัญชาที่ได้จะมีคุณภาพดีแน่นอน

ไฟสำหรับงบประมาณประหยัด: คุณสามารถใช้ CFL (Compact Fluorescent Light) หรือแผงไฟ LED (Light Emitting Diode) ขนาดเล็ก ปรับแต่งนิดหน่อยให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการปลูก ทดแทน Growing Cupboards ได้

4.ระยะงอกเงย

เมล็ดกัญชาจะไม่งอกเงยจนกว่าจะมีปัจจัย 3 สามประการครบ คือ น้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสม และทำเลในการปลูกที่ดี

การปลูกกัญชาเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ไม่มีกฎตายตัว แต่ละคนก็มีวิธีการปลูกที่แตกต่างกันออกไป คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ แล้วสักวันหนึ่งคุณจะเจอวิธีการปลูกที่เหมาะสมกับตัวคุณที่สุด คุณสามารถปลูกเมล็ดกัญชากับดินได้โดยตรง แต่ในขณะเดียวกันก็มีทางเลือกอื่นอีก

กระดาษชำระ: วางเมล็ดกัญชาลงบนกระดาษชำระที่เปียกชื้นพอประมาณ ก่อนจะห่อด้วยพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้น 5 วันถึง 1 สัปดาห์ เมล็ดเหล่านั้นก็จะเริ่มแตกหน่อ

เมื่อต้นอ่อนโผล่พ้นเมล็ดและพื้นผิวดิน ใบเลี้ยงเริ่มผลิ นี่คือสัญญาณที่บอกว่าการสังเคราะห์แสงเริ่มต้นขึ้นแล้ว ดังนั้นไม่ว่าคุณจะปลูกกลางแจ้งหรือในร่ม ก็ถึงเวลาที่ต้องจัดการเรื่องแสงให้เหมาะสม

5.ระยะเจริญเติบโต

เมื่อเกิดการสังเคราะห์แสง หมายความว่าต้นกัญชาของคุณจะเริ่มหาอาหารและเผาผลาญมันเป็นพลังงาน เป็นจุดสิ้นสุดของระยะงอกเงย และเป็นการเริ่มต้นของระยะเจริญเติบโต

ในร่ม: ควรเปิดไฟให้ต้นกัญชา 18 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอีก 6 ชั่วโมงให้เปิดไฟสำหรับโหมดกลางคืน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องอิงตามช่วงเวลาจริงของโลก

นอกจากดินที่ดี สารอาหารที่เพียงพอ และอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว อีกหนึ่งเคล็ดลับที่นิยมเพื่อให้ต้นกัญชาผลิดอกออกผลได้ดียิ่งขึ้นคือการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในห้องเพาะเลี้ยง

กลางแจ้ง: กัญชาจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในสภาพได้รับแสงแดดเพียงพอ โดยเฉพาะในฤดูร้อน แต่ก็ควรมีการควบคุมให้ระดับแสงอยู่ในระดับพอดี ไม่เช่นนั้นกัญชาอาจเข้าสู่ภาวะแห้งตายได้

ขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจาก unlockmen.com

Cr. newsringside.com